วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หญ้าแฝก บ้านเจี่ย


ลักษณะของหญ้าแฝก

หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า “Vetiver Grass” มีด้วยกัน ๒ สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน
(Vetiver nemoralis A. Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria ziznioides Nash) เป็นพืชที่มี
อายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว ๓๕-๘๐ ซม. มีส่วนกว้าง
ประมาณ ๕-๙ มม.สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อจากส่วนลำต้นใต้ดิน
หรือแบบอาศัยเพศโดยการให้ดอกและเมล็ดได้เช่นกัน ช่อดอกที่พบในประเทศไทยสูงประมาณ ๒๐-๓๐
ซม. แต่การขยายพันธุ์โดยดอกและเมล็ดเป็นไปค่อนข้างยาก หญ้าแฝกจึงไม้ใช้วัชพืชเช่นหญ้าคา
ปกติหญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็วโดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน นอกจากนี้จากการ
ศึกษาพบว่า หญ้าแฝกในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อแขนง
ดังกล่าวมีการเจริญเติบโตจะเพิ่มน้ำหนักมากขึ้น ทำให้หญ้าแฝกโน้มลงดินและสามารถเจริญเติบโตเป็น
กอหญ้าแฝกใหม่ได้

ประโยชน์อเนกประสงค์อื่นๆ จากหญ้าแฝก

ปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา

โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขนานไปตามคลองส่งน้ำ หรือแม่น้ำลำคลองซึ่งแถวหญ้าแฝกจะช่วยในการ
ดักตะกอนดิน และกรองขยะมูลฝอยไม่ให้ลงไปสู่แม่น้ำลำคลอง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการตื้นเขินและ
น้ำเน่าเสีย การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยให้น้ำในแหล่งน้ำมีความสะอาดยิ่งขึ้น
ใบและต้นหญ้าแฝกเป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ยหมัก
ใบของหญ้าแฝกเป็นอาหารสัตว์ได้ พบว่า จากแหล่งพันธุ์กำแพงเพชร ๒ มีคุณค่าทางอาหารสัตว์ดีกว่า
พันธุ์อื่นๆ ทั้งปริมาณโปรตีนหยาบ วัตถุแห้งที่ย่อยได้ค่า NDSและแร่ธาตุต่าง ๆ ส่วนหญ้าแฝกที่มีอายุ
การตัด ๔ สัปดาห์ มีความเหมาะสมที่สุดทั้งด้านการให้ผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยัง
พบว่าใบอ่อนของหญ้าแฝกสามารถนำมาบดเลี้ยงปลาและเป็นอาหารสัตว์ได้ แต่ใบแก่ใช้ไม่ได้เนื่องจาก
มีคุณค่าทางอาหารสัตว์น้อยกว่าหญ้าชนิดอื่นๆ มีความสากคาย นอกจากนั้นต้นและใบของหญ้าแฝกนำมา
ทำปุ๋ยหมักภายใน ๖๐-๑๒๐ วัน สภาพของต้นและใบแฝกจะมีการย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างสมบูรณ์
ปริมาณธาตุอาหารที่สำคัญให้สารปรับปรุงบำรุงดินอีกด้วย
ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคาและอื่นๆ ในบ้าน
โดยการใช้ใบที่แห้งแล้วมาสานเรียงกันเป็นตับเพื่อทำเป็นหลังคาบ้านเรือน ที่พักผ่อนหย่อนใจ หลังคาร้าน
ค้า เป็นต้น ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่า
เคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้า ทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยไม่แมลงที่จะทำลายเสื้อได
หญ้าแฝกใช้ทำสมุนไพรและน้ำหอมได้
มีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมัน
ที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ เช่น ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver”

พระราชดำรัสเกี่ยวกับ “หญ้าแฝก”
“...การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชัน และในร่องน้ำของ
ภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย...”
“...การปลูกหญ้าแฝกเหนือแหล่งน้ำ เพื่อเป็นแนวป้องกันตะกอนและดูดซับสารเคมีตลอดจนของเสีย
ต่างๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำ เพราะหญ้าแฝกจะดูดซึมสารพิษต่างๆ ไว้ในรากและลำต้นได้นาน จนสารเคมี
ีนั้นสลายตัวเป็นปุ๋ยสำหรับพืชต่อไป...”
“...การคัดเลือกสายพันธุ์หญ้าแฝกนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ควรระมัดระวังอย่างมาก ควรเลือกพันธุ์ที่ไม่
สามารถกระจายพันธุ์ได้โดยเมล็ด เพราะถ้าเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายโดยทางเมล็ดแล้วจะเป็นอันตราย
...”
“...ในส่วนของการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ให้พิจารณาปลูกก่อนหน้าฝนสัก ๓ เดือน ใน
กรณีที่พื้นที่มีน้ำพอที่จะมารดต้นหญ้าแฝกได้เพราะว่าจะทำให้ต้นหญ้าแฝกแข็งแรงเมื่อถึงหน้าฝนจะทนต่อ
ความแรงของน้ำในหน้าฝนได้...”
“...หญ้าแฝกมีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการจัดระบบอนุรักษ์ดิน โดยการปลูกเป็นแนวรั้วกั้นตามระดับชั้น
และได้มีการศึกษาทดลองใช้อย่างได้ผลดี ในประเทศแถบเอเชียหลายประเทศแล้ว...”
“...การปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวรอบๆ อ่าง จะช่วยกันรักษาหน้าดินเหนืออ่าง ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้นอัน
จะเป็นการช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว...”
“...ให้เร่งดำเนินการปลูกหญ้าแฝกให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ภายใน ๒ ปี ถึงแม้การดำเนินงานอาจจะสิ้น
เปลืองงบประมาณบ้างก็ควรได้ดำเนินการ...”
“...การปลูกแฝกเป็นแนวความคิดใหม่ อยากจะให้ปลูกโดยไม่ต้องหวังผลอะไรมากนัก แต่ผลที่ได้จะดี
มากและการปลูกไม่จำเป็นต้องไปปลูกในที่ของเกษตรกร ขอให้ปลูกกันในสถานที่พัฒนาที่ดินเพื่อเป็น
แบบอย่าง เพื่อคัดพันธุ์ หาพันธุ์ที่ดี ที่ไม่ขยายพันธุ์โดยออกดอกต้องดูว่าปลูกแล้วมีพันธุ์ไหนที่ทนแล้งใน
หน้าแล้ง ผักเขียวอยู่ก็ใช้ได้ โดยขอให้ปลูกก่อนฤดูฝน จะทำให้เกษตรกรในพื้นที่ข้างเคียงเห็น...”
“...ให้ดำเนินการปลูกหญ้าแฝก ซึ่งจะช่วยทั้งการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยรากของหญ้าแฝกจะอุ้มน้ำไว้ ซึ่ง
จะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในดินอันจะสามารถปลูกพืชอื่นเช่นข้าวโพดหรือต้นไม้ยืนต้นอื่นๆ ในบริเวณที่
ปลูกหญ้าแฝกได้...”

ผลจากการใช้หญ้าแฝก
จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมแรงร่วมใจให้เป็นไปตามพระราชดำรินับแต่วันแรก ที่มีพระราชดำ
รัสจวบจนปัจจุบันความสัมฤทธ์ผลของหญ้าแฝกได้ปรากฏให้เห็นแล้ว อาทิ ช่วยป้องกันการพังทลายของ
ดินขอบถนนบนพื้นที่สูง เช่น เส้นทางไปโครงการพัฒนาดอยตุง ( พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราช
ดำริ จังหวัดเชียงราย ช่วยพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพดินที่โครงการพัฒนาที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อัน
เนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดราชบุรี และดินดานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้นแนวพระราชดำริยังได้รับการ
เผยแพร่ออกไปสู่นานาชาติด้วย เช่น ที่ประเทศมาดากัสการ์ ได้ขอความร่วมมือมายังสำนักงาน กปร.
เพื่อให้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญอาสาสมัครของประเทศไทยไปให้คำแนะนำทางวิชาการในการแก้ไขปัญหาความ
เสียหายต่อเชิงลาด (Slope) ในเขตทางรถไฟสาย FCE ซึ่งถูกพายุไซโคลนถล่มเสียหาย ในเดือน
กุมภาพันธ์ และ มีนาคม ๒๕๔๓ โดย USAID เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ สำนักงาน กปร.
ได้ประสานกับ ดร.อุทัย จารณศรี ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญหญ้าแฝกจากโครงการพัฒนาดอยตุง(พื้นที่ทรงงาน)
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ นายดิถี แห่งเชาวนิช วิศวกรจาก บริษัท เอพีที คอนซัลท์ จำกัด ได้เดิน
ทางไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวที่ประเทศมาดากัสการ์ ระหว่างวันที่ ๒๓ กรกฎาคม - ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๓
ซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง
จากผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลอย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า “ประเทศไทยทำ
ได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม”
ทาง IECA (International Erosion Control
Association ) จึงมีมติ ถวายรางวัลThe International Erosion Control Association’s
International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำ
หญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและ้นํ้า เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖
และเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และแห่ง
ธนาคารโลกได้นำคณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพ
รากหญ้าแฝกชุมสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่ง
มั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และผลการดำเนินงานหญ้าแฝก
ในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก

การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
๑. การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน
การปลูกแบบนี้จะเห็นผลดียิ่ง เมื่อหญ้าแฝกมีความเจริญและแตกกอขึ้นเต็มตลอดแนวจนไม่มีช่องว่าง ซึ่ง
ถือว่ามีประโยชน์สูงสุด เพราะเมื่อมีน้ำไหลบ่าหรือมีการพัดพาดินไปกระทบแถวกอหญ้าแฝก ซึ่งจะทำ
หน้าที่ชะลอ ความเร็วของน้ำลงและดักเก็บตะกอนดินไว้ ส่วนน้ำจะไหลบ่าซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น
อันจะเป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดินเบื้องล่างและน้ำที่ผิวดินก็ไหลผ่านแนวต้นหญ้าแฝกไปได้ ส่วนราก
หญ้าแฝกนั้นก็หยั่งลึกลงไปในดินอาจลึกถึง ๓ เมตร ซึ่งสามารถยึดดิน ป้องกันการชะล้างได้เป็นอย่างดี
ไม่ว่าจะเป็นการชะล้างแบบเป็นหน้ากระดาน หรือเป็นร่องลึก และแบบอุโมงค์เล็กใต้ดิน เมื่อแถวหญ้าแฝก
ทำหน้าที่ดักตะกอนดินเป็นระยะเวลานานขึ้น ก็จะเกิดการสะสมทับถมกันเป็นระยะเวลานานขึ้น ก็จะเกิด
การสะสมทับถมกันของตะกอนดินบริเวณหน้าแถวหญ้าแฝกเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี กลายเป็นคันดินธรรมชาติไป
ในที่สุด ดังพระราชดำริที่ได้พระราชทานไว้ดังนี้
“...การปลูกหญ้าแฝก ควรปลูกเป็นแถวเดี่ยว ระยะระหว่างต้นห่างกัน ๑๐-๑๕ ซม.ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่
การดูแลรักษาง่าย ควรทำการทดลองปลูกในร่องน้ำ และบนพื้นที่ลาดชันให้มากเพื่อช่วยป้องกันการ
ชะล้างพังทลายของดิน...”
๒. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินที่เป็นร่องน้ำลึก
เทคนิคการปลูกหญ้าแฝกเพื่อแก้ปัญหาบริเวณร่องน้ำลึกโดยการปลูกหญ้าแฝกในแนวขวาง ๑ แถว เหนือ
บริเวณร่องลึก และใช้ถุงทรายหรือดินเรียงเป็นแนวเพื่อช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าในระยะที่แฝก
เริ่มตั้งตัว
๓. การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน
โดยเฉพาะทางแถบภาคเหนือและภาคใต้ มาตรการที่เหมาะสม คือการปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแนวรั้วบริเวณ
คันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอกโดยควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในต้น
ฤดูฝน โดยการไถพรวนดินนำร่องแล้วปลูกหญ้าแฝกลงในร่องไถ ระยะปลูกระหว่างต้นต่อหลุม ๓-๕ เหง้า
ต่อหลุม ระยะห่างระหว่างแถวแฝกจะไม่เกิน ๒ เมตรตามแนวตั้ง หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกัน
ภายใน ๕-๖ เดือน
ในพื้นที่แห้งแล้งควรตัดหญ้าแฝกให้สูงประมาณ ๓๐-๕๐ ซม.เพื่อเร่งให้มีการแตกกอ ควรตัด ๑-๒ เดือน
ต่อครั้ง การตัดหญ้าแฝกต้องกระทำในทุกพื้นที่และใช้ใบคลุมดินด้วย
“...ขอให้ปลูกหญ้าแฝกไว้ด้วยเพราะหญ้าแฝกมีประโยชน์มากในการช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย ช่วยรักษา
หน้าดิน โดยเฉพาะที่โครงการนี้มีที่ลาดชันหลายแห่งนอกจากนี้หญ้าแฝกยังช่วยกักเก็บอินทรียวัตถุไว้ใน
ดิน ใบอ่อนของหญ้าแฝกยังเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย...”
๔. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน
เป็นการปลูกไม้ผลร่วมกับแถวหญ้าแฝกในระยะแรกเริ่ม หรือปลูกแฝกสลับกับต้นไม้ที่ต้องการใช้
ประโยชน์ เช่น ในมาเลเซียมีการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวในระหว่างแถวปลูกยางพารา้ เมื่อต้นหญ้าแฝก
เจริญเติบโตประมาณ ๑ ปี ก็สามารถตัดใบใช้ประโยชน์ในการเป็นวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้นยางพาราเพื่อ
รักษาความชุ่มชื้น โดยที่เศษใบแฝกจะไม่เป็นพาหะของโรคและแมลง
การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน กระทำได้ ๓ วิธี คือ

๔.๑ ปลูกหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลประมาณ ๑ เมตร และนำใบของหญ้าแฝกมาคลุมโคนต้น
เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
“...นอกจากนี้ยังพบว่าการปลูกหญ้าแฝก ยังส่งผลให้การเพาะปลูกพืชอื่นๆ ระหว่างแนวรั้วหญ้าแฝกนั้นให้
ผลผลิตได้อย่างเต็มที่มากขึ้น...”
๔.๒ ปลูกแบบครึ่งวงกลามรอบไม้ผล ซึ่งทรงเรียกว่า “ฮวงซุ้ย” โดยปลูกเป็นครึ่งวงกลมรอบไม้ผลแต่ละ
ต้นรัศมีจากโคนต้นไม้ผล ๑.๕๐-๒.๐๐ เมตร
“...ถ้าจะปลูกไม้ผลควรปลูกหญ้าแฝกเป็นรูปครึ่งวงกลมล้อมต้นไม้ผลคล้ายฮวงซุ้ย...”
๔.๓ ปลูกครึ่งวงกลมหันหน้าเข้าหาแนวลาดชัน แนวหญ้าจะดักตะกอนที่จะไหลบ่าลงมาเก็บกักไว้ที่โคน
ต้นไม้
๕. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา
ในพื้นที่ลาดชันมักนิยมปลูกบนขั้นบันไดหรือมีการก่อสร้างคันคูดินรอบเขา ซึ่งเป็นการลงทุนสูง การป้อง
กันการเสียหายก็โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวในบริเวณขอบขั้นบันได หรือคันคูดิน
๖. การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำ
โดยการนำหญ้าแฝกไปปลูกในร่องน้ำด้วยการขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำเป็นแนวตรงหรือแนวหัวลูกศรย้อน
ทางกับทิศทางไหล ในลักษณะตัว V คว่ำซึ่งทรงเรียกว่า “บั้งจ่า” เพื่อควบคุมการเกิดร่องน้ำแบบลึกหรือ
การปลูกในร่องน้ำล้น โดยปลูกตามแนวระดับเพื่อกักน้ำและช่วยกระจายน้ำไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูก
ผลของการปลูกหญ้าแฝกแบบนี้จะช่วยดักตะกอนและสามารถชะลอความเร็วของน้ำให้ลดลงด้วย
๗. การปลูกหญ้าแฝกในการป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ และอ่างเก็บนํ้า ในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน
โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวบริเวณสองข้างทางคลองส่งน้ำ จะช่วยกันตะกอนดินที่ไหลลงมาซึ่งในส่วน
ของการปลูกขอบสระเพื่อกรองตะกอนดินนั้น ใช้วิธีการปลูกตามแนวระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง ๑ แนวและ
ควรปลูกเพิ่มขึ้นอีก ๑-๒ แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ในระยะแรกควรดูแลปลูก
แซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น เมื่อน้ำไหลบ่าลงมาตะกอนดินจะติดค้างอยู่บนแถวหญ้าแฝก ส่วนน้ำจะค่อยๆ ไหลซึมลงสระและรากหญ้าแฝกจะช่วยยึดดินรอบๆ สระ มิให้พังทลายได ้เป็นการลดค่า
ใช้จ่ายในการขุดลอกสระด้วย
“...การปลูกหญ้าแฝกควรปลูกทั้งในพื้นที่เพื่อการเกษตร ขอบสระหรือแหล่งน้ำในบริเวณพื้นที่ป่าไม้
ตลอดจนสามารถปลูกในบริเวณที่เป็นร่องน้ำ เพื่อกรองตะกอนดินไม่ให้ไหลลงไปสู่แหล่งเก็บน้ำและราก
หญ้าซึ่งหนาแน่น จะมีส่วนในการเก็บความชุ่มชื้นในดินได้...”
๘. การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม
ดำเนินการในโครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี และตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขนานความลาดเทในดินลูกรังที่เสื่อมโทรมจากการ
ถูกชะล้างของผิวหน้าดิน จนกระทั่งเกิดความแห้งแล้งและมีผิวหน้าดินแข็ง ขาดพืชพรรณธรรมชาติปกคลุม
การปลูกหญ้าแฝกแบบนี้จะช่วยชะลอความเร็วของน้ำไหลบ่า ทำให้น้ำซึมลงดินได้ลึกเกิดความชุ่มชื้น
ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้
“...สำหรับโครงการฟื้นฟูที่ดินเขาชะงุ้ม ให้ดำเนินการปลูกในส่วนบนที่ติดกับเขาเขียวโดยให้ปลูกติดกัน
เป็นแถวเดียว โดยให้นำหน้าดินมาใส่เพิ่มเติมในระยะต้น เมื่อแฝกขึ้นดีแล้วจะช่วยเพิ่มปริมาณหน้าดินได้
...”
๙. การปลูกในพื้นที่ดินดาน
ดำเนินการศึกษาที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ซึ่งมีทรายแข็ง ดินเหนียว หินปูนและแร่ธาตุต่าง ๆ
รวมตัวกันเป็นแผ่นแข็งคล้ายหิน ยากที่พืชชั้นสูงจะเจริญเติบโต เมื่อทำการปลูกหญ้าแฝกในดินดานพบว่า
รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในเนื้อดินดานทำให้ดินแตกร่วนขึ้น สำหรับหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น
ในแนวของหญ้าแฝกสามารถปลูกพันธุ์ไม้ได้หลายชนิด เช่น กระถินเทพา สะเดา ประดู่ ฯลฯ เมื่อมีการ
ปลูกหญ้าแฝกร่วมกับไม้ผลรากของหญ้าแฝกสามารถหยั่งลงในดินดาน เป็นการสลายดินล่วงหน้าก่อนที่
รากไม้ผลจะหยั่งลึกลงไปถึง
“...ควรเร่งปลูกหญ้าแฝกให้มาก ๆ เพราะหญ้าแฝกมีคุณสมบัติพิเศษในการอนุรักษ์ดินหลายประการ โดยเฉพาะดินที่มีโครงสร้างแข็งดังเช่นที่ห้วยทรายนี้ หญ้าแฝกจะทำหน้าที่เป็นเขื่อนที่มีชีวิตจะช่วยทำให้
ดินมีความชุ่มชื้น และอุดมสมบูรณ์มากขึ้น...”
๑๐. การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินบริเวณไหล่ถนน
ดำเนินการในพื้นที่ดินตัดและดินถมข้างทาง เป็นการปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในส่วนของไหล่
ทางที่ปิดและไหล่ทางด้านข้าง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และ
ปลูกขวางแนวลาดเพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน
๑๑. การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ
ในปัจจุบันได้มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตและเพื่อการเพิ่มผลผลิตของพืชกันมากขึ้น โดยเฉพาะ
การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่ดินในประเทศเขตร้อนมักขาดอยู่เสมอๆ นอกจากนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการ
เกษตรได้มีการนำสารเคมีมาใช้ในการปลูกพืชมากขึ้น สารไนเตรทที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยก็ดี โลหะหนักและ
สารเคมีที่เป็นพิษอันเนื่องมาจากการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชก็ดี สารเหล่านี้หากถูก
ชะล้างลงในแหล่งน้ำ จะทำให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม การศึกษาทดลองที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนา
ห้วยทรายฯ พิสูจน์ได้ว่ากอหญ้าแฝกที่ปลูกเป็นแนวขวางความลาดเทของพื้นที่สามารถจะยับยั้ง และลด
ารสูญเสียหน้าดินบนพื้นที่ลาดชันได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันรากหญ้าแฝกที่มีการแพร่กระจายอย่างหนา
แน่นและหยั่งลึก จะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำ ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง
นอกจากนี้ตัวของรากหญ้าแฝกเอง น่าจะมีประสิทธิภาพในการที่จะดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบาง
อย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากความสามารถของรากหญ้าแฝกในการหยั่งลึกและแผ่กว้างได้
มากกว่ารากหญ้าชนิดอื่นๆ

หญ้าแฝกกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดิน และน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายยประการ คือ มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง มีการแตกหน่อ และใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้ มีใบยาว ตัด และแตกใหม่ง่าย แข็งแรง และทนต่อการย่อยสลาย ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป[1]
การปลูกหญ้าแฝกส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในเรื่องของการอนุรักษ์ดิoและน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของดิน การช่วยเก็บกักตะกอนดินในพื้นที่ลาดชัน แต่จากผลของการวิจัยยพบว่า หญ้าแฝกยังมีลักษณะในด้านการฟื้นฟูทรัพยากรดินด้วย ซึ่งช่วยให้ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ดินมีปัญหา จึงมีส่วนช่วยฟื้นฟู และปรับปรุงดินให้มีสภาพดีขึ้น เนื่องจากผลของอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้น และกิจกรรมของจุลินทรีย์บริเวณรากหญ้าแฝก รวมทั้งการมีความชื้นที่ยาวนานขึ้น สภาพดินจึงมีการพัฒนา และความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ในด้านการรักษาสภาพแวดล้อมหญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ในสภาพดินที่มีโลหะหนัก ลักษณะดังกล่าวจึงมีการนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อใช้บำบัดน้ำทิ้งจากโรงงาน อุตสาหกรรมบางประเภท และดูดซับโลหะหนักจากดิน สำหรับวิธีการที่นำหญ้าแฝกไปปลูกเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาสภาพแวดล้อม ได้แก่ การปลูกหญ้าแฝกรอบขอบบ่อบำบัดน้ำทิ้งเพื่อให้หญ้าแฝกช่วยดูดซับโลหะหนักบบาง ชนิด การปลูกหญ้าแฝก เพื่อดูดซับโลหะหนักจากดิน การปลูกหญ้าแฝกแล้วให้น้ำทิ้งไหลผ่านในอัตราการไหลที่เหมาะสม[2]